คำสั่งที่ใช้ในการตัดสินใจ IF
 
        คอมพิวเตอร์มีคำสั่งที่ใช้ในการตัดสินใจอย่างมีตรรกะ นั่นคือคำสั่ง IF ( อิฟ ) ซึ่งคำสั่ง IF นี้ผู้เขียน
โปรแกรมจะใช้เพื่อกำหนดเส้นทางการตัดสินใจของคอมพิวเตอร์ว่า จะทำอะไร หรือไม่ทำอะไร หรือจะเลือก
ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
   
  รูปแบบคำสั่ง IF มี 3 แบบหลักๆ ดังนี้
 
ชุดคำสั่ง รูปแบบ
  1.)  IF   ( อิฟ )
  IF  การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
           สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นจริง
           หากเป็นเท็จก็จะไม่ทำ
  END IF
  2.)  IF . . ELSE   ( อิฟ . . เอลซ์ )
  IF  การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
           สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นจริง
  ELSE
           สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นเท็จ
  END IF
  3.)  IF . . ELSE IF
        ( อิฟ . . เอลซ์ อิฟ )

 IF  การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
           สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นจริง
  ELSEIF การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
           สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นเจริง
  ELSEIF การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
           สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นเจริง
  .
  .
  .
  ELSEIF การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
           สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นเจริง
  END IF
 *** อันนี้เป็นการประยุคใช้ ***
       IF ซ้อน IF

 IF  การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
         IF  การเปรียบเทียบ (เงื่อนไข)  THEN
                สั่งคอมฯ ทำบางสิ่ง เมื่อการเปรียบเทียบเป็นจริง
                ทั้ง 2 การเปรียบเทียบ เป็นเท็จอันใดอันหนึ่ง
             ไม่ได้เลย

         END IF
  END IF
   
   
  รูปแบบคำสั่ง IF แต่ละแบบมีข้อกำหนดและวิธีใช้ดังต่อไปนี้
   
  1.)  IF   เป็นการตัดสินใจเลือกได้สองทางเลือก คือ   ทำ กับ ไม่ทำ
        *** หมายความว่าทำหรือไม่ทำสิ่งที่อยู่ภายในอิฟ
   
  2.)  IF . . ELSE   เป็นการตัดสินใจเลือกได้สองทางเลือก คือ ถูกทำอย่างนึง  ผิดทำอีกอย่างนึง
   
  3.)  IF . . ELSE IF   เป็นการตัดสินใจเลือกได้มากกว่าสองทางเลือก แต่ว่าจะทำเฉพาะการ
                               เปรียบเทียบที่เป็นจริง และอยู่บนสุดเท่านั้น หากเปรียบเทียบแล้วเป็นเท็จ
                               ก็ไปเปรียบเทียบชั้นถัดไปเรื่อยๆ    เมื่อเป็นจริงและทำแล้วจะไม่ทำ
                               การเปรียบเทียบในชั้นอื่นๆอีกเลย  แม้ว่าการเปรียบเทียบในชั้นอื่นๆ
                               จะเป็นเจริงก็ตาม