หมู่ยุวกาชาดแห่งแรกในประเทศไทย

จอมพล สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อครั้งยังคงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต และทรงดำรงตำแหน่งอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ทรงมีพระราชปรารภถึงคณะกรรมการสภากาชาดสยาม ถึงการที่จะตั้งสภากาชาดแผนกเด็กขึ้น ดังที่บางประเทศได้ดำเนินการได้ผลดีมาแล้ว อีกทั้งสันนิบาตสภากาชาดก็ให้การสนับสนุนยกย่องให้สภากาชาดแต่ละประเทศจัดตั้งขึ้น หากสภากาชาดสยามจะได้จัดตั้งสภากาชาดแผนกเด็กขึ้นบ้างและเรียกชื่อว่า อนุสภากาชาด ก็จะนับว่าเป็นการทันสมัยนิยม ไม่เป็นการล้าหลัง 
คณะกรรมการสภากาชาดสยามได้มีมติให้จัดตั้งอนุสภากาชาดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2465 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมเด็กให้มีความรู้ในเรื่องการรักษาอนามัยของตนเอง และของผู้อื่น มีใจเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ทั่วไป รู้จักบำเพ็ญประโยชน์เนื่องด้วยกิจการนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการรับเป็นภาระจัดการ ก็จะทำให้กิจการอนุสภากาดชาดเป็นผลสำเร็จวัฒนาถาวร เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสืบไป
ภายหลังจากที่สภากาชาดได้ประกาศจัดตั้งกิจการอนุสภากาชาดขึ้นเพียง 2 เดือน โรงเรียนราชินี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2447 ก็ได้ขออนุญาตเปิดดำเนินงานอนุสภากาชาดขึ้นเป็นแห่งแรกเมื่อ
วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2465 โดยมีหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล ดำรงตำแหน่งนายกหมู่เป็นท่านแรก และได้จัดพิธีเข้าประจำหมู่
ขึ้นเป็นแห่งแรก ดังนี้

     
  รูปหมู่ยุวกาชาดแห่งแรกในประเทศไทย  
     
 
 
 

 

พิธีเข้าประจำหมู่

เป็นพิธีที่สำคัญของสมาชิกยุวกาชาด โรงเรียนที่จัดตั้งหมู่ยุวกาชาดจะต้องจัดให้มีขึ้นอย่างน้อยปีละครั้ง ในภาคแรกของปีการศึกษา เพื่อให้นักเรียนใหม่ที่สมัครเป็นสมาชิกได้ปฏิญาณตน โรงเรียนราชินีได้จัดพิธีขึ้นทุกปีนับตั้งแต่แรกที่ได้รับอนุญาต ในครั้งนั้นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเสด็จฯเป็นองค์ประธาน และสมเด็จ เจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จฯ ด้วยและในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ปรากฎว่ามีเจ้านายและบุคคลสำคัญมาเป็นประธานอยู่เนือง ๆ อาทิ
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า)
สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต (เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต)
สมเด็จพระบรมราชชนก (เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็น พระองค์เจ้าธานีนิวัต)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
เจ้าพระยาพิชัยญาติ
พระยาศรีวิสารวาจา
พระยาราชนุกูล
พิธีดังกล่าว ยังคงมีการจัดสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้
คัดย่อจาก "หมู่ยุวกาชาดแห่งแรกในประเทศไทย" โดยนายพิสิฐ ฐิติวัจน์
วารสารยุวกาชาด ปีที่ 33 เล่มที่ 5 ฉบับที่ 194 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2527

 

  สัญลักษณ์ของยุวกาชาด  
     
 
   

 

เป็นรูปกากบาทสีแดง บนพื้นขาวล้อมรอบด้วยวงกลมสีน้ำเงิน รูปกากบาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 5 รูป ประกอบกัน วงกลมสีน้ำเงินมีความหนาของเส้นวงกลมเท่ากับครึ่งหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขอบวงกลมด้านในห่างจากเส้นขอบด้านบน ด้านล่าง และด้านข้างของกากบาท มีอัตราส่วนเท่ากับครึ่งหนึ่งของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเช่นกัน

เครื่องแบบยุวกาชาดในอดีต - ปัจจุบัน

     

 

คำปฏิญาณตนยุวกาชาด
ข้อ 1 ข้าฯ จะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2 ข้าฯ จะเป็นมิตรกับคนทั่วไป และจะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
ข้อ 3 ข้าฯ จะรักษาอนามัยของตนเองและส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น