|
แผนที่ แสดงพระราชวัง วังเจ้านาย และบ้านขุนนาง สมัยรัตนโกสินทร์ |
|
|
1. มณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดอัมรินทราราม ซึ่งโอรสและธิดาของกรมพระราชวังหลัง
สร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนี้ ยังสร้างภูเขาประดิษฐานพระพุทธฉายจำลอง
ไว้ใกล้เคียงกันด้วย
2. พระราชวังหลวง
3. ป้อมวิชัยประสิทธิ์ เป็นป้อมสำคัญสำหรับรักษาพระนครฝั่งตะวันตก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์
จากการขุดค้นเมื่อ พ.ศ.2541 พบรากฐานป้อมทำด้วยอิฐโบราณแบบที่ใช้สร้างกำแพง
เมืองอยุธยา วางเรียงด้านกว้างสลับยาว สอด้วยหินและปูน ชั้นล่างสุดอยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบัน
ลงไปราว 280 เมตร ได้ฐานรากเสริมความแข็งแรงด้วยหินผสมอิฐหักอัดจนแน่นผนังป้อมเดิม
ฉาบด้วยปูนหมักขัดผิว
4. พระราชวังเดิม
5. กุฏิเจ้าเซ็น
6. พระราชนิเวศน์
7. วังสวนมังคุด และวังบ้านปูน
8. หอไตรวัดระฆัง ปฏิสังขรณ์จากที่ประทับของรัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งเป็นพระราชวรินทร์
นายตำรวจสมัยธนบุรี
9. พระราชวังหลัง
10. พระราชวังหน้า
11. คลองบางกอกน้อย
12. คลองบางกอกใหญ่ |
|
|
|
วังสวนมังคุด มีฐานะเป็นวัง ในรัชกาลที่ 1
ตั้งอยู่ระหว่างวังบ้านปูน (สันนิษฐานว่าเป็นที่
ตั้งของโรงละครและโรงเรียนสอนศิลปะการแสดง
ภัทราวดีเธียเตอร์) ทางทิศใต้และทางพระราชวัง
หลัง (บริเวณพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช) ทางด้าน
ทิศเหนือ บริเวณโดยรอบทำสวนผลไม้ที่เป็นหลัก
คือมังคุด รสชาติดีเป็นที่รู้จักในฐานะผลไม้เมือง
บางกอก
วังสวนมังคุด ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกรมพระ
ราชวังหลัง ในฐานะเป็นบ้านของท่านสา หรือ
สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
พระมารดาของกรมพระราชวังหลัง ประทับมา
แต่ครั้งแรกอพยพเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี
|
|
|
สมัยรัตนโกสินทร์สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากรมพระ
ยาเทพสุดาวดีเข้าประทับว่าราชการในพระบรม
มหาราชวังจึงทรงยกวังสวนมังคุดให้กรมหมื่น
นรินทร์รรณเรศร พระโอรสองค์น้อย ต้นสกุล
รินทรางกูร หม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ ในสกุลนี้ได้
ครอบครองวังต่อมา จนถึงต้นรัชกาลที่ 3
วังทรุดโทรมมากเพราะไม่มีเจ้านายทรง
“กรม” จึงขาดกำลังคนและกำลังทรัพย์ที่จะดูแลรักษาวัง
ให้ดีอย่างเดิมได้ ในที่สุดวังนี้จึงเปลี่ยนเป็นสมบัติของ
ราชสกุล
“อิศรางกูร”
เจ้าต่าง กรมองค์สุดท้ายคือ กรมหมื่นเทวานุรักษ
คนทั่วไป
จึงเรียกวังนี้ว่า “วังกรมเทวาฯ” แต่นั้นมา
ในราวสมัย
รัชกาลที่ 5 ยังมีเจ้านายหญิงสอง
พระองค์เท่านั้นที่ประทับปกครอง วังสวนมังคุด
คือ หม่อมเจ้าหญิงสวาสดิ์ อิศรางกูร และหม่อม
เจ้าหญิงหญิง อิศรางกูร
|
|
|
|
ในครั้งนั้นมีพระตำหนักเหลืออยู่สองพระตำหนัก
(ก่อนนั้นมีหลายพระตำหนักถ้าเจ้าของพระตำหนักองค์ใดสิ้นพระชนม์ พระตำหนักนั้นจะถูกรื้อไปถวายวัด
ทั้งสองพระตำหนักเรือนไม้สักชั้นเดียว มี 5 ห้อง มีเฉลียงรูปทรงคล้ายศาลาการเปรียญโบราณ พระตำหนัก
ไม้สัก ซึ่งเป็นพระตำหนักสุดท้ายของ ม.จ.หญิง อิศรางกูร นั้น ม.ล.กร อิศรางกูร ณ อยุธยา
ทายาทของท่านได้รื้อถวายวัดระฆังฯ เมื่อหม่อมเจ้าหญิงหญิง อิศรางกูร สิ้นชีพิตักษัยในพ.ศ. 2491
สภาพปัจจุบันของสวนมังคุด เหลือเพียงแนวกำแพงอิฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของแนวกำแพงวัง อยู่ภายในซอย
ศาลาต้นจันทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ เท่านั้น |
|
|
|
กรมพระราชวังหลัง
“กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข” หรือกรม
พระราชวังหลัง เพิ่งมีสถาปนาขึ้นในปลายสมัย
กรุงศรีอยุธยา
รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา
เมื่อทรงตั้งพระราชวงศ์ใหม่ โปรดให้หลวง
สรศักดิ์ ราชโอรสบุญธรรมเป็นพระมหาอุปราช
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
ให้นายจบคชประสิทธ์หลานชายเป็น
เจ้านายชั้นสูงรองลงมาจากพระมหาอุปราช
จึงโปรดให้นำระเบียบการตั้งกรมพระราชวัง
บวรสถานมงคล (วังหน้า) มาตั้งกรม
"วังหลัง"
เรียกนามกรมว่า “กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข”
ตั้งแต่นั้นมาสถาปนาขึ้นเป็นกรม
|
|
|
ดังในเวลาต่อมา
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา นี้เอง ที่มีทั้ง ‘วังหน้า’ และ ‘วังหลัง’ ‘วังหน้า’ เรียกว่า ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ เหมือนเมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ ‘วังหลัง’ เรียกว่า ‘กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข’
ในรัชกาลที่ ๑ ‘กรมพระราชวังหลัง’ ท่านเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ในรัชกาล ที่ ๑ พระอินทรักษา (หม่อมเสม) เป็นพระบิดาพระอินทรักษา (หม่อมเสม) เป็นบุตรชายใหญ่ของ พระยากลาโหมราชเสนา อธิบดีกรมกลาโหม ฝ่ายพระราชวังบวรสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
“กรมพระราชวังหลัง” เดิมท่านมีพระนามว่าทองอิน ประสูติรัชสมัยพระเจ้าบรมโกษ เมื่อ พ.ศ.๒๒๘๙ ท่านจึงมีพระชันษาสูงกว่า สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ถึง ๒๑ ปี ในรัชสมัยกรุงธนุบรี ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง รับราชการจนกระทั่งเลื่อนเป็น
พระยาสุริยอภัย ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ เสมอเจ้าพระยา
เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ เมื่อชนะศึกพม่า มีความชอบ จึงโปรดเกล้าฯ เพิ่มพระเกียรติยศ สถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข รับพระบัญชาตามแบบอย่างกรมพระราชวังหลัง แต่ครั้งสมเด็จพระเพทราชา
กรมพระราชวังหลัง มีพระอัครชายา พระนามว่าทองอยู่ เมื่อสถาปนาพระบรมราชวงศ์ โปรดฯ ให้ทรงศักดิ์เป็น เจ้าครอกทองอยู่ เรียกกันว่า ‘เจ้าข้างใน’ บ้าง ‘เจ้าครอกข้างใน’ บ้าง “เจ้าครอกใหญ่’ บ้าง
ที่เรียกว่า ‘เจ้าครอกใหญ่’ สันนิษฐานกันว่า คงจะเรียก พระอัครชายา (เจ้าศิริรจจา หรือศรีอโนชา)
ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่า ‘เจ้าครอก’ เช่นกัน จึงทำให้น่าจะมีทั้ง เจ้าครอกใหญ่ และ เจ้าครอกน้อย นี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ยังไม่มีเอกสารยืนยัน
เจ้าครอกทองอยู่ เดิมท่านเป็นชาววังสมัยอยุธยา เป็นข้าหลวงสำนัก เจ้าฟ้าหญิงจันทวดี
ตามพระราชพงศาวดาร ฉบับ คำให้การขุนหลวงหาวัด ที่พม่าจดเอาไว้ ว่า เจ้าฟ้าหญิงจันทวดี เป็นพระขนิษฐาของเจ้าฟ้าหญิงพินทวดี ทั้งสองพระองค์เป็นพระราชธิดา ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวสาน้อย) ส่วนพระพันวสาใหญ่ คือกรมหลวงอภัยนุชิต)
เจ้าฟ้าหญิงจันทวดี นั้น เมื่อกรุงแตก ไม่ปรากฏพระองค์ เช่นเดียวกับเจ้านายอีกหลาย ๆ พระองค์ มีแต่เจ้าฟ้าหญิงพินทวดี ที่ทรง รอดมาได้ เมื่อแผ่นดินกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงอุปถัมภ์ยกย่องให้เสด็จอยู่ในวัง เป็นหลักในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีฝ่ายใน จนถึงแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯมหาราช ก็ทรง ยกย่อง เชิญเสด็จเข้าประทับในพระบรมมหาราชวัง เช่นกัน สมเด็จเจ้าฟ้าพินทวดี ทรงเจริญพระชันษาเสด็จอยู่มาจนสิ้นรัชกาลที่ ๑ |
|
ข้อมูลจากครูกัญญาภัค ทองมี |